วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติเมืองภูกามยาว(เมืองพะเยา)


ประวัติเมืองภูกามยาว(เมืองพะเยา)

 







1. ประวัติเมืองพะเยา
                พะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ  ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา  อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ  อำเภอเชียงม่วน อำเภอปง อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอภูซาง และอำเภอภูกามยาว 
               
 พะเยา เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในแถบลานนาไทย เดิมมีชื่อว่า ภูกามยาว หรือ พะยาว  มีอายุกว่า 900 ปี        โดยพ่อขุนศรีจอมธรรม กษัตริย์แห่งราชวงศ์ลัวะจักรราชหิรัญนครเงินยาง  เมืองเชียงแสน และเจริญรุ่งเรืองสูงสุด   ในสมัยพ่อขุนงำเมือง "เมืองภูกามยาว หรือ พะยาว เคยมีเอกราชสมบูรณ์มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันติวงศ์มาปรากฏตามตำนานเมืองพะเยา พุทธศักราช 1602  (จุลศักราช 421)พ่อขุนเงิน      หรือลาวเงิน กษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสน มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ ขุนชิน        และขุนจอมธรรม เมื่อโอรสทั้งสองเจริญวัยขึ้น พ่อขุนเงิน ได้ให้         ขุนจอมธรรม ปกครองเมืองภูกามยาว ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ ส่วนขุนชินปกครองเมืองนครเงินยางเชียงแสน ในราชสำนักขุนจอมธรรมและไพร่พลได้ไปถึงเมืองภูกามยาว และสร้างเมืองขึ้นอีกแห่งหนึ่งซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งเมืองโบราณชื่อเมืองสิงหราช ณ เชิงเขาชมพู และได้ครองเมืองภูกามยาวได้ 24 ปี ขุนจอมธรรมมีพระโอรส 2 พระองค์ คือ ขุนเจือง และขุนจอง เมื่อขุนจอมธรรมสิ้นพระชนม์ ขุนเจืองโอรส    จึงได้ขึ้นครองราชย์แทน ในขณะครองเมืองได้รวบรวมลี้พลไปช่วยเมืองนครเงินยาง ของขุนชินผู้เป็นลุงจนรอดพ้นจากการรุกรานของแกวหรือ ญวนได้สำเร็จ ขุนชินทรงโสมนัสยิ่งนัก จึงยกธิดาชื่อ พระนางอั๊วคำสอน ให้ และสละราชสมบัติให้แก่ขุนเจือง      เมื่อขุนเจืองได้ครองเมืองเงินยางแล้ว จึงให้โอรสชื่อว่า"ลาวเงินเรือง" ขึ้นครองเมืองพะเยาแทน ท้าวลาวเงินเรือง ครองเมืองพะเยาได้ 17 ปี ก็สิ้นพระชนม์ ขุนแดงโอรสครองราชย์ต่อมาเป็น เวลา 7 ปี    ขุนชอง ซึ่งเป็นน้าก็แย่งราชสมบัติ และ ได้ครองเมืองพะเยาประมาณ 20 ปี และมีผู้ครองราชย์สืบต่อมาจนถึงพระยางำเมืองกษัตริย์เมืองพะเยา องค์ที่ 9 ซึ่งเป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง เมื่อพระชนมายุได้ 16 ชันษา พระบิดาส่งไปศึกษา ที่สำนักสุกันตฤาษี เมืองลพบุรี จึงได้รู้จักกับพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย   โดยได้ศึกษาศิลปศาสตร์จากอาจารย์เดียวกัน และทรงเป็นสหายกันตั้งแต่นั้นมา เมื่อเรียนจบก็เสด็จกลับเมืองพะเยา 
ปีพุทธศักราช
 1310 พ่อขุนมิ่งเมืองพระราชบิดาสิ้น      พระชนม์ จึงได้ขึ้นครองราชย์แทน ต่อมาพ่อขุนเม็งราย ได้ยกทัพมาประชิดเมืองพะเยา พ่อขุนงำเมืองสั่งให้ไพร่พล อยู่ในความสงบและได้ให้เสนาอำมาตย์ออกต้อนรับโดยดี พระองค์ได้ยกเมืองชายแดนบางเมืองให้แก่พ่อขุนเม็งรายเพื่อเป็นการสงบศึก และทั้งสองพระองค์ยังได้ทำสัญญาเป็นมิตรต่อกันตลอดไปพระยาร่วง ซึ่งเป็นสหายสนิทได้เสด็จมาเยี่ยมเยือนพ่อขุนงำเมืองเป็นประจำทุกปี และได้มีโอกาสรู้จัก พ่อขุนเม็งราย ทั้งสามพระองค์ทรงเป็น  พระสหายสนิทกันมาก ถึงกับได้หันหลังพิงกัน พร้อมกับทำสัจจะปฏิญาณ แก่กัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำกู (แม่น้ำอิง) ว่าจะไม่ผูกเวร   แก่กันจะเป็นมิตรสหายที่ดีต่อกันและได้กรีดโลหิตออกรวมกัน ในขันผสมน้ำดื่มพร้อมกัน 
เมื่อปีพุทธศักราช
 1816 พ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนม์ลง ขุนคำแดงและขุนคำลือได้สืบราชสมบัติ   ต่อมาตามลำดับ    ในสมัยขุนคำลือนี้เองที่เมืองพะเยาต้องเสียเอกราชไป พระยาคำฟู แห่งนครชัยบุรีศรีเชียงแสน ได้ร่วมกับพระยากาวเมืองน่าน ยกทัพมาตีเมืองพะเยา พระยาคำฟูตีเมืองพะเยาได้ก่อน และ ได้เกิดขัดใจกับพระยากาว ทำให้ เกิดการสู้รบ พระยาคำฟูเสียทีจึงยกทัพกลับเชียงแสน เมืองพะเยาจึงได้รวมอยู่กับอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่นั้นมา พุทธศักราช 2386 การนี้ชี้ให้เห็นถึงการเลือกชัยภูมิในการสร้างเมืองพะเยา เพราะเมืองพะเยามีชัยมงคล 3 ประการ คือ
ประการแรก มีแม่น้ำสายตาหรือแม่น้ำอิง อยู่ทางใต้ของเมือง และไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 
ประการที่สอง
 มีกว๊านพะเยาหรือหนองเอี้ยง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง 
ประการสุดท้าย
 คือ หัวเวียง มีดอยจอมทองที่บรรจุพระธาตุจอมทอง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพะเยา  แสดงให้เห็นว่าการสำรวจดูพื้นที่เพื่อเลือกทำเล เพื่อสร้างเมืองต้องคำนึงถึงแหล่งน้ำและที่ราบเป็นหลักตามตำนานจะเห็นได้ว่าพะเยามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามอิทธิพลของอาณาจักรต่างๆ  ที่ผลัดกันมีอำนาจในแถบนี้ 
จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พยาวเปลี่ยนชื่อเป็นพะเยา และรวมอยู่กับจังหวัดเชียงรายจนในปี พ.ศ.
 2520        จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา  เมื่อวันที่ 28  สิงหาคม  พ.ศ. 2520

เเหล่งอ้างอิง  http://pyo.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=175:2009-08-08-03-55-22&catid=58:2009-08-08-04-13-43&Itemid=94

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น