วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

จักราศี


ที่มาของจักรราศี

ในระบบโชยติษะศาสตร์หรือศาสตร์ที่ว่าด้วยระบบของโลกและจักรวาล ซึ่งก็คือต้นกำเนิดวิชาดาราศาสตร์ในสมัยโบราณ ความจริงโชยติษะหรือโหราศาสตร์ก็คือแม่บทของวิชาดาราศาสตร์ สมัยนี้เพียงแต่แนวคิดและวิธีคิดแตกต่างกัน เพราะโชยติษะศาสตร์คือศาสตร์ที่ว่าด้วยกฏเกณฑ์ขอจักรวาลทั้งระบบที่ว่าด้วยอิทธิพลของจักรวาล ชีวิต กฏแห่งกรรม และมนุษย์ คน สัตว์ สิ่งของ ต่างๆ เป็นผลผลิตจากอิทธิพลของจักรวาลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างเป็นระบบและไม่ได้แยกออกเป็นเอกเทศ ส่วนวิชาดาราศาสตร์เพียงเป็นแขนงหนึ่งท่าด้วยกฏเกณฑ์ของจักรวาลในมิติของวัตถุและปฎิกิริยาที่มีต่อกันทางฟิสิกส์เท่านั้น

จักรราศีในระบบโหราศาสตร์ไม่ใช่หมายถึงจักรวาลในระบบสุริยะจักรวาลเท่านั้น แต่หมายรวมถึงกลุ่มดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่งที่เราเรียกว่ากลุ่มดาวจักรราศี ที่เรียงรายล้อมรอบและครอบงำสุริยะจักรวาลอีกชั้นหนึ่ง และจุดศุฯย์กลายของจักรวาลในมิตินี้ก็คือ”โลก” ที่มีเราเป็นจุดศูนย์กลางของจิตวิญญาณแห่งสิ่งมีชีวิตที่เป็นมนุษย์


แต่ในอดีตนักวิทยาศาสตร์เคยยิ้มเยาะบรรพชนโบราณที่หลงผิดคิดว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และพยายามอธิบายใหม่ว่า แท้จริงโลกเป็นเพียงดาวบริวารในระบบสุริยะเท่านั้น ดวงอาทิตย์ต่างหากที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และเราก็คิดว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของความคลาดเคลื่อนในมิติทางความคิด ซึ่งต่างก็เห็นว่าตนเองเป็นฝ่ายถูกต้อง เพราะแท้ที่จริงแล้วดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลายในระบบมิติทางความคิดที่เกี่ยวข้องกันทางฟิสิกส์เท่านั้น หาใช่เป็นจุดศูนย์กลางแห่งจิตวิญญาณไม่ ในแนวคิดของจักรวาลวิทยา ระบบโหราศาสตร์ที่ใช้โลกเป็นจุดศูนย์กลางเราเรียกว่า Geocentric แตกต่างจากระบบดาราศาสตร์ที่ใช้ ระบบดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางที่เรียกว่า Heliocentric


ที่มาของโหราศาสตร์ 2 ระบบ

ในระบบโหราศาสตร์ซึ่งใช้หลักของโลกเป็นศูนย์กลาง (Geocentric) ก็ได้มีการแบ่งย่อยเป็น 2 ระบบ ระบบแรกเรียกว่า จักราศีคงที่ หรือเรียกว่าระบบนิรายนะ ที่ใช้ในระบบของโหราศาสตร์อินเดีย ไทย จีน

ระบบที่สองเรียกว่า ระบบจักราศีเคลื่อนที่ เรียกว่าระบบสายนะ ที่มักจะใช้ในโหราศาสตร์ในประเทศตะวันตก  ความแตกต่างของสองระบบนี้อยู่ที่การคิดจุดเริ่มต้นของจักราศีแตกต่างกัน โดยระบบคงที่ใช้จุดเริ่มต้นของกลุ่มดาวฤกษ์อัศวินีที่ 0 องศาเป็นจุดเริ่มต้นของจักราศีนับเป็นราศีเมษ ส่วนจักราศีในระบบเคลื่อนที่มีความแตกต่างกับระบบคงที่อยู่ประมาณ 22-23 องศาแต่ซึ่งละปีจะไม่เท่ากัน ผลการคำนวนปรากฏว่า จักราศีของทั้งสองระบบนี้จะมาร่วมที่จุดเดียวกันก็ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2หมื่นปี จึงจะมาบรรจบกันครั้งหนึ่ง

สำหรับนักโหราศาสตร์ก็ต้องใช้หลักการใดหลักการหนึ่งของสองระบบนี้ในการพยากรณ์ทำนายดวงชาตา ขึ้นอยู่กับว่าได้ศึกษาในระบบใดมาเป็นหลัก และไม่ควรนำมาผสมปนเปกัน ซึ่งในเว็บนี้ผมจะอธิบายตามแนวทางของระบบนิรายนะทั้งหมด

การแบ่งจักราศี

การแบ่งจักราศีได้ถูกแบ่งออกมาเป็น 12 ส่วนตามกลุ่มดาวจักราศีทั้ง 12 กลุ่มที่ทำให้มีแนวคิดการแบ่งจำนวน 1ปีออกมาเป็น 12 เดือนตามชื่อของกลุ่มดาวจักราศีทั้ง 12 นั้น โดยตั้งโลกเป็นจุดศูนย์กลาง และอยู่ภายในวงกลมล้อมรอบด้วยกลุ่มดาวจักรราศี โดยตั้งต้นทางทิศตะวันออกที่ 0องศาของดาวอัศวินี (นิรายนะ)แบ่งออกเป็น 12 ราศีหรือ 12 ส่วน ราศีละ 30 องศา จนครบ 360 องศา ซึ่งได้ใช้เป็นหลักการและแม่บทของโหราศาสตร์มาจนถึงทุกวันนี้

เเหล่งอ้างอิง  http://www.astroneemo.net/index.php?option=com_content&view=article&id=787:2010-04-06-06-07-51&catid=39:2010-01-14-07-49-04&Itemid=28

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น